STRENGTHS

แปลงทดสอบการเย็บตลิ่ง หาดแหลมรุ่งเรือง จ.ระยอง พ.ศ.2566

  • TECHNOLOGY               มีการศึกษาวิจัยและพัฒนา มากว่า 20 ปี
  • STRENGTH                     ทนทานต่อสภาพคลื่นลมทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน
  • PERFORMANCE            ทำหน้าที่ในการเย็บตรึงตลิ่งชายฝั่ง รักษาตะกอนและลดพลังงานคลื่น
  • STRUCTURE                  โครงสร้างอ่อนแบบกึ่งถาวร ติดตั้งและรื้อถอนออกได้ง่าย
  • STRONG                         วัสดุมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ผุกร่อนง่าย ทนน้ำ ทนแดด (จากการทดลองติดตั้งในทะเลจริงมากกว่า 10 ปี)
  • ENVIRONMENT            เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง ไม่ต้องทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม EIA
  • COLLABORATIONS     วิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานรัฐชั้นนำของประเทศไทย เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สวทช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • CERTIFCATE                 ได้รับการจดสิทธิบัตรในไทยและต่างประเทศ และขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย รหัส 01010006 ( 2560 - มีนาคม 2568 )
  • S D G                              เป็นวัสดุโครงสร้างอ่อนที่ยึดถือแนวทาง Sustainable Development Goals ของสหประชาชาติ
  • B C G                              เป็นนวัตกรรมไทย ที่ร่วมอยู่ในโครงการ Bio Circular Green Economy และได้รับงบวิจัยสนับสนุน

STRUCTURAL COMPARISON

ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น

           ข้อดี

  • เป็นแนวทางการป้องกันชายฝั่งที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (nature-based solution)
  • กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นในการจัดซื้อและการปัก
  • ราคาถูก ทำได้ง่าย ใช้แรงงานคน
  • เป็นแนวป้องกันเรือประมงบางประเภทที่เข้ามาทำอันตรายกับต้นกล้าไม้ที่ปักไว้
  • มีความสามารถในการดักตะกอนด้านหลังโครงสร้าง
  • มีผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียงน้อย
  • มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งน้อยกว่าโครงสร้างแบบอื่นๆ (จากการศึกษาของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)

    ข้อเสีย
  • ไม้ไผ่ที่ปักลงไปเมื่อเริ่มกระบวนการผุสลายจะเป็นตัวการทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำ
  • เมื่อไม้ไผ่หมดอายุการใช้งาน จะหักโค่นตรงรอยต่อของดินกับน้ำทะเล ซึ่งอาจจะไปทับต้นไม้ที่ปลูกไว้ อาจกลายเป็นขยะลอยน้ำจำนวนมากบริเวณชายฝั่ง และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศชายฝั่ง
  • ไม้ไผ่เป็นตัวนำเพรียงให้เข้ามาเกาะและสามารถแพร่กระจายไปพื้นที่ข้างเคียง
  • การสร้างแนวป้องกันต้องใช้ไม้ไผ่จำนวนมหาศาล ซึ่งหากนำมาจากป่า ก็จะเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ในการถางป่าไผ่
  • อายุการใช้งานสั้น (2-4 ปี) จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาตลอด
  • การตกตะกอนด้านหลังโครงสร้างไม้ไผ่ชะลอคลื่น อาจไม่ถึงระดับที่ป่าชายเลนจะสามารถเจริญเติบโตได้ ก่อนที่แนวไม้ไผ่จะเสื่อมสภาพ ดังนั้นการประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาของตะกอนและอายุการใช้งานของไม้ไผ่


 
เขื่อนกันคลื่น (Breakwater)
           ข้อดี
  • เป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมที่มีทฤษฎีรองรับ
  • มีประสิทธิผลในการลดพลังงานคลื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงและขนาดของโครงสร้าง
  • ทำให้เกิดการตกตะกอนด้านหลังโครงสร้างอย่างชัดเจน
  • ท้องถิ่นสามารถดำเนินการก่อสร้างเองได้ แต่ควรได้รับการออกแบบโดยวิศวกร

    ข้อเสีย
  • ในการก่อสร้างในหาดเลน ไม่สามารถก่อสร้างได้สูงเกินกว่า 2.5 – 3.0 เมตร เพราะเกิดการทรุดตัว ทำให้ประสิทธิภาพลดลง
  • ไม่สามารถสร้างเป็นแนวป้องกันคลื่นนอกฝั่งได้ เพราะต้องใช้งบประมาณสูงในการปรับปรุงฐานราก
  • ทำให้การถ่ายเทนํ้าไม่สะดวก อาจก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพน้ำเน่าเสีย และป่าชายเลนเสื่อมโทรมได้
  • ใช้งบประมาณปานกลาง-สูง ขึ้นอยู่กับรูปแบบและฐานราก
  • อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียง
  • ทำให้ทัศนียภาพทางชายฝั่งสูญเสียไป


 
ปักเข็มคอนกรีต
           ข้อดี
  • เป็นแนวสลายพลังคลื่นนอกชายฝั่ง
  • เสริมให้เกิดการตกตะกอนที่ด้านหลังโครงสร้างมากขึ้น
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • การบำรุงรักษาน้อย
  • มีผลของการทรุดตัวน้อย

    ข้อเสีย
  • ใช้งบประมาณสูง ขึ้นกับรูปแบบ จำนวนแถว และความยาวเข็ม
  • ทำให้ทัศนียภาพทางชายฝั่งสูญเสียไป
  • อาจเกิดอันตรายในการสัญจรทางน้ำ
  • ประสิทธิภาพต่ำลงเมื่อความยาวคลื่นหรือคาบเวลาคลื่นมากขึ้น จึงเหมาะกับบริเวณที่คลื่นมีความรุนแรงน้อย
  • เนื่องจากมีกลไกการสลายพลังงานคลื่นคล้ายกับ กำแพงกันคลื่น (seawall) อาจก่อให้เกิดการสะท้อนของคลื่นด้านหน้าโครงสร้างและส่งผลกระทบต่อระบบหาดข้างเคียง

 
 
ไส้กรอกทราย
           ข้อดี
  • เป็นโครงสร้างที่ผสมผสานระหว่างแนวทางธรรมชาติและทางวิศวกรรม
  • เป็นแนวป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง
  • ลดพลังงานคลื่นได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นกับความสูงของเขื่อน
  • ใช้เป็นพื้นที่จอด/พัก เรือด้านหลัง จากคลื่นนอกฝั่ง
  • ลักษณะโครงสร้างแบบกึ่งถาวร สามารถรื้อถอนออกได้
  • ต้นทุนต่ำกว่าวิธีการป้องกันชายฝั่งแบบถาวร

    ข้อเสีย
  • อายุการใช้งานจำกัด อาจต้องมีการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนใหม่เมื่อเสื่อมสภาพ จึงมีการใช้งบประมาณสูง
  • มีการทรุดตัว หรือทรายรั่วออกมา ทําให้ประสิทธิภาพในการป้องกันชายฝั่งลดลง
  • สำหรับกรณีก่อสร้างในหาดเลน ถ้าหากทรายรั่วออกมา จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง
  • ทัศนียภาพทางชายฝั่งสูญเสียไป
  • อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียง
  • หากติดตั้งไม่ดีอาจถูกคลื่นซัดออกจากตำแหน่งเดิม


 
โกงกางเทียม
           ข้อดี
  • เป็นแนวทางการป้องกันชายฝั่งรูปแบบผสม (hybrid solution) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันชายฝั่ง ที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (nature-based solution)
  • มีส่วนผสมของไม้ ทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติ
  • น้ำหนักเบา ไม่มีผลต่อการทรุดตัว
  • ราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับเขื่อนกันคลื่น ไส้กรอกทราย หรือการปักเข็มคอนกรีต
  • เป็นแหล่งหาอาหารของสัตว์น้ำ ได้ระบบนิเวศกลับคืนทันที
  • เป็นแนวป้องกันเรือประมงบางประเภท ที่เข้ามาทำอันตรายกับต้นกล้าไม้ที่ปักไว้
  • ออกแบบให้เว้นเปิดเป็นช่องทางสัญจรเรือขนาดเล็กได้
  • รากไม้เทียม ช่วยในการสะสมของตะกอนทั้งแนวขนานและแนวตั้งฉากจากแนวชายฝั่ง เร่งการตกตะกอนและสะสมทราย
  • เสริมให้ตะกอนมีเวลาในการตกตะกอนนานขึ้นบริเวณหลังแนวไม้
  • เป็นโครงสร้างแบบโปร่ง มีผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียงน้อย
  • มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งน้อยกว่าโครงสร้างแบบอื่นๆ
  • หากต้องการเลิกใช้งาน สามารถรื้อถอนหรือขยับรุกคืบขยายแนวชายฝั่งได้ง่าย
  • ไม่ต้องศึกษา EIA

    ข้อเสีย
  • รูปแบบการติดตั้งไม่ตายตัว ระดับความสูงจำนวนชั้นของราก ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการออกแบบแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป ทำให้ต้องมีการศึกษาออกแบบอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการรักษาเสถียรภาพ และฟื้นฟูชายฝั่ง
  • อายุการใช้งานปานกลาง (ประมาณ 10 ปี) มีอายุการใช้งานยาวกว่าไม้ไผ่


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้