EROSION 
ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยความรุนแรงในช่วงสิบปีหลัง เกิดมาจากหลายสาเหตุ
ไม่ว่าจะเป็นผลจากเหตุภัยภิบัติสึนามิ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ส่งผลทำให้ระดับแผ่นดินเลื่อนตัวต่ำลง จากระดับน้ำทะเลเดิม หรือเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เป็นการ
เติมปริมาณน้ำเข้าสู่ทะเลและมหาสมุทรที่เชื่อมต่อกันทั้งโลกใบนี้ เป็นต้น การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการกัดเซาะ มีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมทางทะเลและความปลอดภัยของมนุษย์ในหลายด้าน ผลที่ได้จากการป้องกันที่ดี คือการที่เราจะไม่สูญเสียแผ่นดินจากการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรง และสิ่ง
แวดล้อมทางทะเลจะไม่ถูกทำลาย รวมถึงระดับคุณภาพของระบบนิเวศทางทะเลและที่อยู่ของสัตว์น้ำ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นจะไม่สูญหาย ตลอดจนแผ่นดินไม่ตกน้ำ
การป้องกันชายฝั่ง ยังสร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวและชาวเรือ เพราะการกัดเซาะชายฝั่ง อาจเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวและชาวเรือที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น
การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางทะเล และยังสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและกิจกรรมริมหาดโดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่
ในพื้นที่ริมชายฝั่งที่อยู่ในอุตสหกรรมประมงพื้นบ้านและเกษตรกรรม การบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่ง ยังช่วยรักษาความสมดุลของระบบทะเล ซึ่งสำคัญมากสำหรับ
การจัดการทรัพยากรทางทะเลและการสงวนป้องกันสิ่งแวดล้อมทางทะเล จะทำให้มีจำนวนประชากรสัตว์น้ำทางทะเลเติบโตขึ้น ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมทางทะเล
การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยในการรักษาพื้นที่ทางทะเลที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทย เช่น การท่องเที่ยวทางทะเล การค้าสินค้าทางทะเล และสิ่งปลูกสร้าง
ริมทะเล จะได้รับการปกป้อง อาทิ ถนนทางสัญจร อาคารบ้านเรือน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่จะไม่ได้รับความเสียหาย ไม่ต้องสูญเสียงบประมาณในการซ่อมแซม

CONCEPT
แนวคิดในการออกแบบโครงสร้างโกงกางเทียม ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2546 ทางบริษัทฯ ได้มีการทดลองนำไม้เทียมมาทำเป็นไม้ไผ่เทียม เพื่อเลี้ยงหอยในทะเล
ผลสำเร็จที่ได้จากโครงการดังกล่าว ทำให้มีการต่อยอด พัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และได้ถูกนำมาใช้งานจริงในปัจจุบัน โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและสถาบันการศึกษาหลายหน่วยงาน

 
D E V E L O P M E N T
การออกแบบและพัฒนาไม้โกงกางเทียม เป็นการนำองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมวัสดุมาใช้งานเพื่อจำลองคุณลักษณะของต้นโกงกางจริง โดยการเลือกใช้วัสดุทาง
วิศวกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาทดแทนธรรมชาติ  ในการทำหน้าที่ลดพลังงานคลื่นที่เข้ากัดเซาะชายฝั่ง ไปจนถึงยับยั้งอัตราการร่นถอยของชายฝั่งทะเล

ต้นโกงกาง เป็นพืชที่มีความสำคัญมากในมุมมองทางทรัพยากรทางทะเลและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าโกงกาง เป็นสถานที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำ
ของพืชและสัตว์นานาชนิด เป็นพื้นที่ๆมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง บทบาทสำคัญอีกประการคือ ระบบรากของพืชป่าชายเลนที่เป็นเสมือนร่างแหคลุมผิวดิน
ทำหน้าที่ช่วยปกป้องการกัดเซาะชายฝั่งจากการถูกน้ำทะเลม้วนตัวเข้ากัดเซาะ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า พื้นที่ป่าชายเลนตามธรรมชาติลดจำนวนลง อันเกิดมาจากปัจจัยหลายส่วน
เช่น กิจกรรมของมนุษย์เอง ในการถางป่า หรือสภาพคลื่นลมที่ทวีความรุนแรง จนโค่นล้มพื้นที่ป่าเลนเอง ทำให้ระบบรากไม่สามารถทำหน้าที่ในการปกป้องผิวดินได้อีกต่อไป 

ไม้โกงกางเทียมที่ถูกพัฒนาขึ้น คือการสร้างผลลัพธ์ของการบรรเทาและป้องกันการเกิดการกัดเซาะ
ทั้งระบบหาดเลนและหาดทรายเพื่อชดเชยและฟื้นฟูระบบหาด เพื่อให้คงอยู่ต่อไป
 

HISTORY

2546 - 2548           โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (05011897-0003) “การพัฒนาเทคโนโลยีไม้ประกอบพลาสติก เพื่อการพาณิชย์”

2552                         แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน งบสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
                                   “C-Aoss แนวป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ป่าชายเลนจากไม้ประกอบพลาสติก (P11-EV-52-02-007)

2555                         โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะบริเวณคลองด่าน (J.1865/2555/003) จ.สมุทรปราการ ร่วมกันกับ บ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด

2558                         โครงการศึกษาและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทย ร่วมกับการใช้นวัตกรรมไม้โกงกางเทียมเพื่อป้องกัน

                                   การกัดเซาะชายฝั่ง ฟื้นฟูป่าชายเลน (CPM-57-035X) สวทช.

2563                         “โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนจังหวัดสมุทรปราการ” สัญญาเลขที่ 15 / 2563 อบจ. สมุทรปราการ

2564                         “โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนจังหวัดสมุทรปราการ (โครงการต่อเนื่อง)” สัญญาเลขที่ 19 / 2564 อบจ.สมุทรปราการ

2565                         “โครงการใช้นวัตกรรมไม้โกงกางเทียมบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดทราย เพื่อลดการสูญเสียระบบนิเวศหาดทรายและส่งเสริมเศรษฐกิจ
                                   ฐานรากของชุมชน” โครงการ Quickwin ภายใต้งบ BCG ปี 65 สวทช.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้